หุ่นละครเล็ก เป็นศิลปะการแสดงที่ผสานศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน อัน ได้แก่ หัตถศิลป์
หรือการสร้างองค์ประกอบของหุ่น ประณีตศิลป์ ในการสร้างเครื่องแต่งกาย นาฏศิลป์ หรือ
การใช้ลีลา ท่าเชิด คีตศิลป์ หรือดนตรีมัณฑนศิลป์ หรือการจัดฉาก รวมทั้งวรรณกรรม
เรื่องเอก ได้แก่ รามเกียรติ์ พระอภัยมณี และ ราชาธิราช เป็นต้น
หุ่นละครเล็กนี้ พ่อครูแกร ศัพทวนิช สร้างขึ้นเลียนแบบหุ่นหลวง ทั้งรูปร่างหน้าตา และ
ขนาด ต่างกันที่กลไกการบังคับหุ่นและลีลาการเชิดหุ่นหุ่นละครเล็กและการเชิดหุ่น
ละครเล็ก จึงเป็นศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่
.....................................................................................................................
Hun Lakhon Lek in an art form that combines several different kinds of arts into
being a unique performing art. It incorporates dramatic art, hand-working art, fine
art, musical art, ecorative art, as well as classic pieces of literature such as
Ramakein, Phra Apaimanee, and Rajathiraj.
Hun Lakhon Lek, initiated by Master Krae Sapthavanich, is an imitation of the
royal pupet figures in overall configurations and aspects such as size, shape, and
decoration. It differs from the royal puppet merely in the way the puppeteers
control the puppet and the movement styles of the puppeteers.Hun Lakhon Lek is
thus a newly created performing art.
.....................................................................................................................
ปัจจุบัน อนุสรณ์แทนตำนานหุ่นละครเล็ก ของพ่อครูแกร ศัพทวนิช เหลือเพียงหุ่นละครเล็ก
๓๐ ตัว ที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ความรู้ในการสร้าง
และศิลปะการแสดงละครหุ่นของท่านยังมิได้สาบสูญ เพราะได้รับการสืบทอดและพัฒนา
เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ประจักษ์ในคุณค่าและร่วมดำรงรักษามรดกทางภูมิปัญญาของศิลปิน
พื้นบ้านไทย โดยนายสาคร ยังเขียวสด ศิษย์พ่อครูแกร ศัพทวนิช หรือครูโจหลุยส์ ศิลปินผู้
โด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
.....................................................................................................................
However, what Master Krae Sapthavanich left behind is just a legend and only 30
puppets which are now on display at the open museum of Muang Boran in Samut
Prakarn.
Hun Lakhon Lek's fate had been enriched again when Master Sakorn
Youngkhiewsod, widely known as Joe Louis, and his troupe bring it back to live.
Joe Louis has trained a number of young people how to make and perform Hun
Lakhon Lek.
.....................................................................................................................
หุ่นละครเล็กเป็นหุ่นที่มีหัว แขน หรือเท่าแบบหุ่นหลวง สูงประมาณ ๑ เมตรข้างในกลวงเป็น
โพรง โครงหุ่นนั้น ท่อนบนทำด้วยกระดาษข่อย ท่อนล่างทำด้วยโครงลวดวง ๆ ไว้ ๒-๓ เส้น
มีสายใยอยู่ภายในลำตัว ถ้าเป็นตัวเอกจะมีสายใยที่ข้อมือด้วยทำให้หักมือและชี้มือและชี้นิ้ว
ได้ ส่วนตัวตลกมีมือแข็ง ๆ หุ่นบางตัวโดยเฉพาะตัวนางที่แปร๋แปร้นมีชิ้นไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
๒ ชิ้นอยู่ภายในตรงคอให้คนเชิดกดเพื่อให้หุ่นยักคอได้แบบละครจริง ๆ ส่วนตัวพระไม่มีชิ้น
ไม้ที่ว่านี้ ดังนั้นจึงได้แต่เหลียวคอซ้ายขวาตามธรรมดา ตัวตลกอ้าปากได้ ตัวหุ่นประเภทนี้
ใช้ผ้ามุ้งแซมตรงคอเพื่อให้ย่น ๆ จะได้อ้าปาก หุบปากได้หุ่นทุกตัวกลอกตาไม่ได้เพราะ
ตาทำด้วยลูกแก้วแข็ง หัวโขนก็ถอดไม่ได้แต่ตัวนางผีเสื้อสมุทรซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหุ่น
ทุกตัวถอดหัวได้
.....................................................................................................................
With all his efforts, Joe Louis has been able to convince a cohort of young active
individuals to give new life to this type of puppet. Many people from this new
generation have devoted their time preserving Hun Lakhon Lek as they value it
as a national cultural heritage.
As noted earlier, Hun Lakhon Lek is physically about the same size as Hun Luang
and it also shares other common characteristics with Hun Laung. Its principal
components consist of head, arms, hands, and costume. A Hun Lakhon Lek
puppet is structured by a combination of iron strings and paper layers that form
the figure. The puppet can be manipulated to express defferent moods and
actions to some extent, such as mouth lifting and shutting, neck turning and
bending, except eyes moring or rolling.
.....................................................................................................................
หุ่นละครเล็กกลับมาโลดเต้นบนเวทีการแสดงเป็นครั้งแรกจากหายไปนานกว่า ๕๐ ปี ในงาน
เทศกาลเที่ยวเมืองไทยปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอร้องให้
ครูโจหลุยส์ จัดการแสดงขึ้นอีกครั้งหนึ่งครูโจหลุยส์จึงตัดสินใจทำพิธีบูชาพ่อครูแกรเจ้าของ
หุ่นเพื่อขออนุญาตจัดทำหุ่นเพิ่มเติม ในงานนี้ครูโจหลุยส์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
แสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานเทศกาล
เที่ยวเมืองไทย ณ สวนอัมพรและแสดงสาธิตละครเล็กที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐
หุ่นละครเล็กคณะครูโจหลุยส์จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายผ่านสื่อมวลชนรวมทั้งได้รับเชิญจาก
สถาบันการศึกษาต่างๆอีกทั้งได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเผยแพร่ศิลปะการแสดง
หุ่นละครเล็กในประเทศต่างๆ
ครูโจหลุยส์ในฐานะผู้ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็กให้กลับคืนมาเป็นศิลปะการแสดงที่เชิดหน้าชูตา
ของประเทศชาติ และเป็นผู้สสืบทอดมรดกของชาติได้รับยกย่องประกาศเกียรติคุณเป็น
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเล็ก) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙
.....................................................................................................................
Hun Lakhon Lek was recently brought back to stage, after 50 years of absence
from the public scene, in the Visit Thailand festival in A.D. 1985. The person who
deserves much credit from this is Joe. Louis. Joe Louis accepted the invitation to
perform the Hun Lakhon Lek on several occasions including the one graciosly
presided over by H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn, and the other one
performed at the Thailand Cultural Center in A.D. 1987.
Joe Louis's Hun Lakhon Lek is very well known and famous, and has earned a
great deal of reputation. It comes as no surprise that Joe Louis has been invited
by various national and international institutions to perform his Hun Lakhon Lek.
In appreciation of his time sacrifice and well intention to preserve and disseminate
the art of Hun Lakhon Lek, Joe Louis was awarded the national artist in performing
art in A.D. 1996.
|