ประวัติการแสดงและผลงาน

ครูชื้น สกุลแก้ว เป็นศิลปินโดยสายเลือด ทั้งยังเกิดมาในโรงหุ่นกระบอกใช้ชีวิตคลุกคลีกับการแสดง
หุ่นและได้ร่วมตระเวนไปกับคณะหุ่นกระบอกที่รับงานแสดงทั่วไปมาโดยตลอด ครูชื้นหัดเชิดหุ่นเมื่อ
อายุ ๗-๘ ปี เมื่อเริ่มเล่นตัวเล็กนั่งไม่ถึง บิดาก็เอาไม้มาตอกเป็นม้ารองก้นให้นั่งเชิดเมื่อยังเล็กครูชื้น
เป็นลูกคู่ตีกรับ ได้ค่าตัวหนึ่งหรือสองสลึงนอกจากนี้ยังได้หัดสีซอเพราะคนซอหายากครูชื้นตั้งปณิธาน
ว่าจะเชิดหุ่นให้เก่งและร้องให้ได้เหมือนมารดาให้ได้ ไปเชิดครั้งแรกก็ได้รับคำชมว่า “เชิดเก่ง ทำได้
เหมือนแม่”
จึงมีกำลังใจมุมานะทำให้ได้ดียิ่งขึ้น นางมิ่งผู้เป็นมารดาได้ถึงแก่กรรรมเมื่ออายุ ๕๖ ปี
ครูชื้นจึงรับบทเป็น “นางตลาด” แมนมารดา นางตลาดก็คือ นางยี่สุ่น นางมณฑา และนางผีเสื้อ
สมุทร เป็นต้น เดิมบทบาทเหล่านี้ นางมิ่งจะเป็นผู้เชิด เนื่องจากครูชื้นได้คุ้นเคยและได้เห็นอยู่จนเจน
ตา จึงสามารถถ่อยทอดศิลปะ การเชิดหุ่นไว้อย่างครบถ้วน หุ่นกระบอกคณะนายเปียกเป็นที่รู้จักของ
คนรุ่นหลัง ๆ และเป็นที่ต้องการของ สาธารณชน ในราว พ.ศ. ๒๔๙๘ สถานีไทยโทรทัศน์ได้เปิด
ดำเนินการขึ้นระยะแรก ๆ หุ่นกระบอกคณะนายเปียก ประเสริฐกุล ได้ออกแสดงติดต่อกันในเรื่อง
“พระอภัยมณี”
ตั้งแต่ตอนต้นจนจบ และในปี ๒๕๐๗ได้กลับไปแสดงทางโทรทัศน์อีกครั้งหนึ่งใน
เรื่องเดิม เวลาที่หุ่นกระบอกนายเปียกออกแสดง ครูชื้นจะเป็นผู้เชิดตัวเอกทุกครั้ง หุ่นกระบอกเรื่อง
“พระอภัยมณี”
จึงเป็นที่ต้องใจของ ท่านผู้ชมโทรทัศน์ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ในยุคนั้น และได้แสดงถวาย
เป็นการส่วนพระองค์ต่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลปัจจุบัน
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ครูชื้นเล่าว่า หุ่นกระบอกชุดแรก
ของนายเปียกเกิดก่อนครูชื้น ๑๔ ปี โดยผู้สร้าง ๒ ท่านคือ ครูมณีและครูศิริ ครูมณีนั้นเป็นสตรีเป็น
ช่างปั้นและหล่อพระอยู่แถบบ้านช่างหล่อส่วนครูศิริเป็นช่างทำหัวโขน ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีหุ่น
กระบอกฝีมือครูมณีนั้นเป็นหน้ามนุษย์ ยิ้มละไมอยู่ในหน้า ไม่ทำหน้า “ทรงมะตูม” อย่างหุ่นโบราณ
หากปั้นเหมือนหน้าคนจริง ๆ เวลาแสดงผู้คนมักจะติดใจเพราะมองดูเหมือนมีชีวิต ครูมณีไม่เคย
สร้างหุ่นกระบอกให้ใครเลย นอกจากคณะของนายเปียก ประเสริฐกุล เท่านั้น พระครูฤาษีซึ่งครูชื้น
เรียกว่า พ่อแก่ ก็เป็นฝีมือครูมณีปั้นด้วยหัวปลวกถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่งทางใจของครูชื้น
มาตลอดชีวิต ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒–๒๕๒๓ กรมศิลปากรได้ส่ง ข้าราชการแผนกนาฏศิลป์จำนวน ๑๔ ท่าน
มาศึกษาการเชิดหุ่นจากครูชื้นเพื่อไปเป็นตัวแทนของประเทศไทยในงานมหกรรมหุ่นกระบอกของ
โลกที่จัดขึ้น ณ เมืองทัชเดนท์ ประเทศรัสเซียแผนกศิลปกรรมการละคร คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เชิญครูชื้นไปเป็นวิทยากรพิเศษ สอนวิชาการเชิดหุ่นกระบอกให้แก่
อาจารย์และนักศึกษาที่รักศิลปะการแสดงด้านนี้ โดยทั่วไปสอนสัปดาห์ละ ๓ วัน ทุกวันจันทร์ พุธ
ศุกร์ แต่ปัจจุบันครูชื้นสอนประจำวันพฤหัสบดี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ขณะที่สอนอยู่ธรรมศาสตร์นี้ ครูชื้นได้
ร่วมเดินทางไปกับ คณะหุ่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อนำหุ่นไปแสดง เป็นการเผยแพร่
วัฒนธรรมไทย ที่ประเทศอังกฤษ

ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ได้นำหุ่นกระบอกไทย เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นจาก
ประเทศต่าง ๆ แถบเอเชีย ๙ ประเทศ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ผลปรากฏว่าหุ่นกระบอกของไทย
โดยมีครูชื้นเป็นผู้เชิดเพียงคนเดียว ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ ๑ ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๕๒๘ ประเทศ
ฝรั่งเศสได้เชิญครูชื้นให้ไปสาธิตการเชิดหุ่น ต่เนื่องจากครูชื้นมีอายุมากแล้วจึงตอบปฏิเสธไป
จากนั้นประเทศสวีเดนได้ส่งนักเรียนเข้ามาเรียนวิธีการเชิดหุ่นกระบอกในประเทศไทย ๗ คน โดยมี
ครูชื้นเป็นผู้ฝึกสอนอย่างเช่นเคย ในปัจจุบัน ครูชื้น สกุลแก้ว มีอายุ ๘๓ ปี จะเห็นได้ว่าตลอด
อายุ ๘๐ ปี กว่าที่ผ่านมา ครูชื้นได้คลุกคลีกับการเชิดหุ่น และการแสดงหุ่นมาโดยตลอด จนมีความ
สามารถเป็นเลิศ สามารถที่จะดำรงรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ไว้ได้อย่างดียิ่ง และยังสามารถ
ถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อมา และเผยแพร่ให้แพร่หลายทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ครูชื้น สกุลแก้ว
จึงได้รับการยกย่องไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นกระบอก) ประจำปี ๒๕๓๐
ดังมีคำสดุดีว่า …นางชื้น สกุลแก้ว เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการร้อง การบรรเลงและการ
เชิดหุ่นเป็นเลิศ ยากที่จะหาผู้ใดเทียบได้ในปัจจุบัน จากการที่ได้คลุกคลีกับการแสดงหุ่นกระบอกมา
ตั้งแต่เกิด ด้วยความเพียร ไหวพริบ และความตั้งใจจริง จึงทำให้ศิลปะการเชิดหุ่นของนางชื้นมีความ
ละเอียดอ่อน ประณีต มีชีวิตชีวา และสวยงามจนเป็นที่นิยมและยอมรับกันอย่างแพร่หลายนอกจาก
จะอุทิศเวลา เกือบตลอดชีวิตเพื่อดำรงรักษาศิลปะการแสดงหุ่นกระบอก ซึ่งเป็นการแสดงพื้นบ้านไว้
อย่างดียิ่งแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดให้ผู้สนใจ ทั้งโดยการสอน การสาธิต และการแสดงให้เป็นที่รู้จัก
และแพร่หลายทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศจึงสมควรยกย่องไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นกระบอก) อย่างแท้จริง

“เมื่อสิ้นเสียงสังขารา”

 
  บทกลอนพระอภัยมณี
พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช
แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน 
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์

แล้วหยิบปี่ที่ท่านอาจารย์ให้
พระเป่าเปิดนิ้วเอกวิเวกดัง
ในเพลงปี่ว่าสามพราหมณ์เอ๋ย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย
พระจันทรจรสว่างกลางโพยม
แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย
จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข
ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์
จัตุบาทกลางป่าพนาสิน
ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
อันลัทธิดนตรีดีนักหนา
จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

เข้าพิงพฤกษาไทรดังใจหวัง
สำเนียงวังเวงแว่วแจ้วจับใจ
ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย
จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
ไม่เทียมโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย
ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน


เสียงเพลงสังขาราแว่วกังวานล้อคลอไปกับเสียงซออู้เป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณของหุ่นกระบอก
ไทยที่กำลังสูญหายไปจากแผ่นดิน เหมือนกับการแสดงพื้นบ้านอีกหลายชนิดที่ถูกกลบกลืนด้วย
วัฒนธรรมสมัยใหม่ อย่างยากที่จะฉุดรั้งไว้ได้

วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เป็นอีกวันหนึ่งที่วงการศิลปินไทยต้องสูญเสียบุคคลสำคัญไปอีกท่านหนึ่ง
คือ แม่ชื้น สกุลแก้วศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง ซึ่งทิ้งผลงานด้านการแสดง หุ่นกระบอก ไว้ให้
ลูกหลานไทยได้รักษา สืบทอดกันต่อไปวันนี้ผมในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านการดูแลส่งเสริมศิลปิน
แห่งชาติโดยตรง จึงขอถือโอกาสเขียนมาคุยกับท่านในคอลัมน์นี้ เพื่อแจ้งให้คนไทยที่รักหุ่นกระบอก
ได้ทราบโดยทั่วถึงกัน และร่วมกันส่งใจมาไว้อาลัย แด่ แม่ชื้น สกุลแก้ว ครูหุ่นกระบอกผู้ล่วงลับ

นางชื้น สกุลแก้ว เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๕๐ ตรงกับปีวอก เกิดที่บ้านขมิ้น ใกล้กรมอู่
ทหารเรือ เขตบางกอกน้อย บิดาชื่อ นายเปียก ประเสริฐกุล ซึ่งเป็นนักแสดงตลกโขนและนักเชิดหุ่น
เจ้าของหุ่นกระบอกคณะนายเปียกผู้เลื่องชื่อเพราะนายเปียกเป็นคนเชิดหุ่นอยู่ในคณะหุ่นกระบอกของ
ม.ร.ว.เถาะ พยัคฆเสนา ผู้นำหุ่นกระบอกจากภาคเหนือมาเผยแพร่ในภาคกลาง ต่อมาเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๔๒ นายเปียก ได้สร้างหุ่นกระบอกขึ้นเป็นของตนเองและรับงานจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
นางชื้นนับได้ว่าเกิดมาในโรงหุ่นใช้ชีวิตร่วมกับการแสดงหุ่นเพราะตระเวนไปกับคณะหุ่นกระบอก
ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนอายุได้ ๗ ขวบ จึงเริ่มหัดเชิดหุ่นโดยบิดาบังคับให้หัดเชิดหุ่นกับป้า เมื่อเริ่มเชิด
ตัวยังเล็กนั่งไม่ถึง บิดาก็เอาไม้มาตอกเป็นม้ารองก้นให้นั่งเชิดเรื่อยมา แรก ๆ ก็ไม่ได้เชิดอะไรมาก
เป็นแต่นั่งดูแล้วก็หัดสีซอ เพราะคนซอหายาก หัดไม่กี่ปีกสีซอเองได้ เมื่อมารดาเสียชีวิตนางชื้นต้อง
ทำหน้าที่แทนมารดาทั้งเชิดทั้งร้องตัวสำคัญเพราะตั้งปฏิภาณไว้ว่า “เราต้องทำได้” ไปเล่นครั้งแรก ๆ
นางชื้นก็ร้องเองและเชิดเอง บิดาชมว่าเก่งทำได้ เหมือนแม่ สาเหตุที่ทำได้ก็เพราะน้อยใจที่บิดาต้อง
ไปจ้างคนอื่นร้องจึงพยายามทุกอย่างเพื่อให้สามารถแสดงได้ทุกชนิดและในความพยายามก็ทำให้ใน
การแสดงหุ่นแต่ละครั้ง ถ้าผู้แสดงคนใดขาดไป นางชื้นก็แสดงเองและสามารถทำหน้าที่แทนได้ ตั้งแต่
เชิดหุ่น ร้องเป็นต้นเสียงและสีซออู้ประกอบเพลงหุ่น นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีความสามารถในการร้อง
“เอื้อน และ ครวญ จนถึงทาง “ลง” ในแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปการแสดงหุ่น
การเชิดหุ่นของนางชื้น สกุลแก้ว มีลีลาอันวิจิตรงดงามคล้าย การแสดงละคร เพราะได้รับการ
ถ่ายทอดจากมารดาผู้ที่เคยเป็นนางละครของพระองค์เฉิดโฉมมาก่อนนางชื้นได้ใช้วิชาชีพการเชิด
หุ่นมาตลอดและได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรสอนการเชิดหุ่นกระบอกในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยเพาะช่าง ฯลฯ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนได้รับการเชิดชูเกียรติ
ให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดงปี ๒๕๒๙


หลายท่านอาจจะสงสัยและดูไม่ออกว่าศิลปะพื้นบ้านหุ่นกระบอกเขาแสดงกันอย่างไรและดูกัน
อย่างไร โดยทั่วไปการเล่นหุ่นกระบอกจะมีทั้งเล่นคืนเดียวและเล่นหลายคืนติดต่อกัน สุดแต่ผู้ว่าจ้าง
ถึงแม้จะเล่นติดต่อกันหลายคืน แต่ทุกคืนก็ต้องเริ่มต้นการแสดงด้วยการรำช้าปี่ไหว้ครูทุกครั้ง แต่ถ้า
เป็นการเล่นหุ่นตอนเย็นในงานศพเรียกกันว่า “เล่นหน้าไฟ” จะไม่มีการไหว้ครู เพราะเล่นเพียง
ตอนสั้น ๆ เช่น ตอนบุขันเจอพราหมณ์เกสรในเรื่องลักษณวงศ์หรือตอนไชยเชษฐ์กลับจากป่าใน
เรื่องไชยเชษฐ์

การแสดงหุ่นกระบอกโดยทั่วไป ก่อนแสดงจะมีการโหมโรงเป็นการน้อมรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
และเพื่อให้เกิดสิริมงคลอีกทั้งยังเป็นการประกาศให้คนรู้ว่าจะมีการแสดงมหรสพอย่างหนึ่งอย่างใด
ขึ้น ฉะนั้นวงปี่พาทย์จึงมักประชันขันแข่งกันในเรื่องเสียงของกลองทัด กระทั่งมีการเรียกสูตรลง
“นะ” บนหน้ากลอง เพื่อให้เกิดความขลังสามารถสะกดเรียกผู้คน ให้มาดูการแสดงของคณะตน

การโหมโรงจะเริ่มต้นด้วยเพลง “สาธุการ” และเพลง “ตระสามตัว” ได้แก่ ตระหญ้าปากคอก
ตระปลายพระลักษณ์ และตระมารละม่อม แล้วรัวสามลา ทั้งหมดนี้หมายถึงการบูชาพระรัตนตรัย
เป็นสามคำรบ แล้วจึงออกเพลงหน้าพาทย์อื่น ๆตลอดจนเพลงเกร็ดไปจนถึงเวลาแสดง

ที่คุยกันมานี้ คงทำให้ท่านผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจ ได้รู้จักการแสดงหุ่นกระบอกมากขึ้น เรียกว่า
“ดูเป็นแล้ว” ต่อไปจะได้ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานสมบัติชาติชิ้นนี้ไว้ให้อยู่คู่กับแผ่นดินไทยไม่สูญสลาย
ไปพร้อมกับเสียงเพลงสังขาราและลมหายใจของครูชื้น สกุลแก้ว