จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือ
สาส์นสมเด็จ ทำให้ทราบว่า หุ่นกระบอกเริ่มขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ. ๒๔๓๕ ที่เมืองสุโขทัย
โดยนายเหน่ง สุโขทัย ซึ่งเป็นต้นคิดจำแบบอย่างมาจากหุ่นไหหลำ นำมาดัดแปลงเป็นหุ่น
แต่งอย่างไทย และนายเหน่ง ได้ใช้เล่นหากินอยู่ที่เมืองสุโขทัย จนมีชื่อเสียง ส่วนที่กรุงเทพฯ
ได้เกิดคณะหุ่นกระบอกของ ม.ร.ว. เถาะ พยัคฑเสนา มหาดเล็กในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ความคิดริเริ่มก่อตั้งคณะหุ่นของ
หม่อมราชวงศ์เถาะ ก่อให้เกิดยุคทองของการเล่นหุ่นชนิดนี้ขึ้น เพราะในสมัยเดียวกัน และ
ต่อมาภายหลัง ได้มีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเป็นมหรสพที่นิยมในหมู่
ประชาชนในเวลานั้น
.....................................................................................................................

The origins of Hun Krabok, a type of puppetry, can be traced back to A.D. 1892.
According to the book "San Somdet" (The Prince's Message) written by Prince
Dumrong, Hun kabok first appeared in A.D. 1892 in Sukhothai Province in lower
northern Thailand and the person who first created the puppet is Mr. Neng.

About a year later, Hun Krabok made its first appearance in Bangkok in A.D. 1893
when M.R. Toh Payakasena formed a troupe to perform Hun Krabok. This led to
the golden age of Hun Krabok performing troupes and the performance of this
kind of puppetry reached its height in popularity among lay people.
.....................................................................................................................

ลักษณะหุ่นกระบอกที่สร้างขึ้นส่วนหัวมาถึงลำคอทำด้วยไม้ทองหลางหรือไม้นุ่น หัวหุ่น
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐-๑๕ ซ.ม. มีรายละเอียด เลียนแบบคนจริง แต่ไม่มี
ลำตัว ตรงลำตัวใช้กระบอกไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๕ ซ.ม. ยาวประมาณ
๕๐ ซ.ม. นำกระบอกไม้ไผ่นี้ต่อกับหัวหุ่นเสร็จแล้วนำผ้าปักลายด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง เลื่อม
แบบเครื่องโขน ละครมาทำเป็นเสื้อทรงกระสอบ ไม่มีแขนเสื้อ มาสวมกับหุ่น
.....................................................................................................................

Hun Krabok figures are made of lightly wood of some kinds (e.g.,cotton wood).
The puppet's head, which requires much work and attention during the production
of a puppet, measures about 10-15 cm in diameter. At first glance, a puppet looks
very much like human being. But at a close look, we can see its structure as being
consisted of a bamboo core with a diameter of 3-5 cm and about 50 cm long. This
bamboo core is attached to the puppet's head, and the puppet is then covered by
the delicately decorated costume. The costume represents an elaborate work of
art and needs to be used with much care.
.....................................................................................................................

การเชิดหุ่นกระบอกยึดถือวิธีเชิดโดยดัดแปลงมาจากการแสดงละครรำ แบบละครนอก
กล่าวคือผู้เชิดจะเชิดหุ่นมีท่าทางการร่ายรำแบบละครรำ แต่แสดงให้ผู้ชมเห็นเพียงครึ่งตัว
เท่านั้น ส่วนล่างของตัวหุ่นนั้นใช้ฉากบังไว้ไม่ให้ผู้ชมเห็นเพราะเป็นแกนกระบอกไม้ไผ่ที่
ต้องใช้มือถือสำหรับ

เชิด ฉะนั้นผู้ชมจะเห็นท่ารำของหุ่นเพียงแค่ส่วนมือ และลำตัวของหุ่นเท่านั้น อนึ่งผู้เชิด
จะเป็นผู้เจรจาและในบางครั้งก็ขับร้องแทนตัวหุ่นที่ตนกำลังเชิดอยู่นั้นด้วย บทที่ผู้เชิดมัก
จะต้องขับร้องเอง เมื่อเชิดหุ่นตัวใดมีบทบาทอย่างไร ผู้เชิดก็จะขับร้องและเจรจาตาม
บทบาทของหุ่นตัวนั้น
.....................................................................................................................

Performing the puppet is not an easy task. The pupeteer moves his body as if he
is dancing while holding the puppet and dubbing for each figure. During the show,
only the puppet's upper half is seen by audience, while the lower part which is
attached to the bamboo core is hidden.
.....................................................................................................................

วิธีการเชิดหุ่นของแต่ละสำนัก แม้จะดูคล้ายกัน แต่ถ้าสังเกตให้ดีแต่ละสำนักก็จะมีการ
เชิดหุ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น

หุ่นคณะนายวิง ญาติผู้พี่ของนายเปียก ประเสริฐกุล หุ่นคณะนี้จะเชิดด้วยมือขวา โดยใช้
มือขวาจับไม้กระบอก แกนลำตัวของหุ่น และใช้มือซ้ายจับตะเกียบซึ่งต่างจากการเชิดหุ่น
โดยทั่วไปที่ใช้มือซ้ายจับไม้กระบอกและมือขวาจับตะเกียบ

หุ่นของครูชื้น สกุลแก้ว บุตรีนายเปียก ประเสริฐกุล มักจะให้ผู้หัดเชิดหุ่นหาถ้วยวางไว้ที่
พื้นตรงกับตัวหุ่นที่ผู้เชิดจับอยู่ เพื่อระวังบังคับไม่ให้หุ่นโยกออกไปไกลรัศมี ด้วยการบังคับ
ด้วยถ้วยนี้ ถือว่าหุ่นต้องยืนรำหรือนั่งรำอยู่บนเตียงอย่างละคร ไม่ได้วิ่งรำไปมา หากผู้เชิด
ไม่บังคับศูนย์การประคองตัวหุ่นเสียแต่แรก ตัวหุ่นจะโยกไปมาเหมือนคนเมา

หุ่นนายจักรพันธุ์ โปษยกฤต นับเป็นหุ่นที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน เพราะนายจักรพันธุ์ เป็น
บุคคลที่มีผลงานที่ได้รับการยกย่องในวงการศิลบะ จนได้รับการประกาศยกย่อ เชิดชูเกียรติ ิให้เป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ที่มีความสนใจการประดิษฐ์และการเชิดหุ่นกระบอกอย่างจริงจัง
โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาการเชิดหุ่นจากคุณครูชื้นสกุลแก้ว และจากคุณครูวงษ์ รวมสุข
หุ่นกระบอกของนายจักรพันธ์จะมีความสวยงามวิจิตรบรรจง หุ่นกระบอกคณะนี้แสดง
ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และมีชื่อเสียงโด่งดังมานับตั้งแต่บัดนั้น ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม หุ่นกระบอกเป็นเพียงตัวหุ่นจำลองไม่ใช่โขนละครที่แสดงด้วยคนจริงๆ
ศิลปะในการเชิดจึงต้องทำท่าให้ง่ายเข้า แต่ยังคงเน้นที่อารมณ์ บทบาท และการร่ายรำ
อันเป็นท่วงท่าและลักษณะเฉพาะของหุ่น
.....................................................................................................................

In overall manner, it seems that all performing troupes have similar ways of
performing, but whin closely observed we can notice that each troupe has unique
performing style. Following are examples of how different troupes employ their
idiosymcratic ways of performance.

For the Nai Wing troupe, it is noted that each of puppeteers holds the puppet with
his right hand and the stick with the left hand while other troupes do the reverse.

In the troupe led by Master Chuen Sakulkaew, all beginning puppeteers are
demanded at the early stage of training to hold the puppet by centering the
bamboo core (as a handle) in a bowl. In this way, puppeteers would be able to
control the movement of puppet in the way they want.

For national artist Chakkrabhand Posayakrit, he incorporates different posture or
movements from various masters (e.g., Master Chuen Sakulkaew and Master
Wong Ruamsuk) into his own ways of puppet playing. As a puppeteer,
Chakkrabhand is famous for performing key characters in Ramakien, including
Phra Ram, Sida, and Benchakuy.

In sum, Hun Krabok performance is not paralleled to mask dance and theater in
the sense that it is only a puppet show, not a show performed by real human
beings. However, Hun Krabok is regarded as a high art form for it emphasizes the
expression of moods, actions, and dance styles.